วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ทฤษฎีการให้คำปรึกษา

การให้คำปรึกษา (Counseling)
ความหมาย
กระบวนการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้มาขอคำปรึกษา เพื่อให้เขาได้ใช้ความสามารถที่เขามีอยู่จัดการกับปัญหาของเขาได้ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาได้
กระบวนการให้คำปรึกษาจะเกี่ยวข้องกับสิ่งสำคัญ 3 ประการ
1. ผู้ให้คำปรึกษา (Counselor)
2. ผู้มาขอรับคำปรึกษา (Counselee)
3. ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง Counselor และ Counselee
จิตวิทยาการให้คำปรึกษา
ต้องพิจารณาสิ่งต่อไปนี้
1. การเข้าใจตนเอง (Counselor)
2. การเข้าใจผู้มาของรับการปรึกษา
3. การเข้าใจธรรมชาติการแสดงออกของมนุษย์ (Human interaction Model)
4. เข้าใจธรรมชาติของปัญหาและการวิเคราะห์ปัญหา
5. เข้าใจลักษณะการให้คำปรึกษา จรรยาบรรณการให้คำปรึกษา
6. ขั้นตอนการให้คำปรึกษา
7. เทคนิคการคำปรึกษา
8. ฝึกปฏิบัติ (Practicum)
คนที่จะประสบความสำเร็จ
ต้องเก่งอย่างน้อย 3 เก่ง
1. เก่งงาน (Task Ability)
คุณสมบัติของคนเก่งงาน
1.1 ต้องมีความรู้และความชำนาญในงานนั้น
1.2 ต้องมีความรับผิดชอบสูง
1.3 รวดเร็ว ถูกต้อง
1.4 มองการณ์ไกล มี Vision
2. เก่งคน (Social Ability)
คุณสมบัติของคนเก่งคน
2.1 เข้าใจตน เข้าใจคนอื่น
2.2 ปรับตน ปรับคนอื่น
3. เก่งคิด (Conceptual Ability)
ขั้นตอนในการให้บริการปรึกษา
1.ขั้นเริ่มการให้บริการปรึกษา
2.ขั้นระบุปัญหา
3.ขั้นระบุวัตถุประสงค์
4.ขั้นวางแผนแก้ปัญหาหรือวางโครงการอนาคต
5.ขั้นดำเนินการตามที่วางแผนไว้
6.ขั้นประเมินผล
7.ขั้นยุติการให้บริการปรึกษา
8.ขั้นติดตามผล
ขั้นเริ่มการให้บริการปรึกษา (1)
1.1 แหล่งที่มาของผู้รับบริการ
จากบุคลากรฝ่ายต่าง ๆ ผู้ให้บริการอาจจะสำรวจเจอ เช่น จากระเบียนสะสม การทำสังคมมิติ ผู้รับบริการมาด้วยตนเอง – ต้องการแก้ปัญหา วางโครงการอนาคต เปลี่ยนแปลงตนเอง
ข้อควรคำนึง ผู้รับบริการมีระดับความพร้อมในการมาแตกต่างกัน เพราะฉะนั้น ผู้ให้บริการจึงต้องใจเย็น และพยายามเข้าใจผู้รับบริการ!!!
1.2 หาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับผู้รับบริการ
1) ผู้รับบริการควรกรอกข้อมูลพื้นฐานเพื่อแนะนำตนเอง และประเด็นที่ต้องการความช่วยเหลือ
2) ข้อมูลพื้นฐานจากผู้ที่ส่งตัว
1.3 การสร้างสัมพันธภาพ
1) อบอุ่น เป็นมิตร จริงใจ น่าไว้วางใจ
2) ทั้งสองฝ่ายต่างให้เกียรติกันและกัน มองอีกฝ่ายหนึ่งในแง่ดี
3) ผู้รับบริการมีทัศนคติที่ดี และศรัทธาผู้ให้บริการ
ผู้ให้บริการ
1) มีทัศนคติที่ดี และตระหนักในคุณค่าของผู้รับบริการ
2) มีท่าทีผ่อนคลาย และแสดงความสนใจ
3) มีท่าทางเป็นธรรมชาติระหว่างสนทนา
4) ใช้คำพูดที่ไม่เป็นการขัดจังหวะการสนทนา
5) ฟังอย่างเข้าใจความคิด ความเชื่อและความรู้สึกของผู้รับบริการ
6) แสดงความจริงใจว่ายินดี และเต็มใจที่จะช่วยเหลือ
1.4 ชี้แจงลักษณะและขอบข่ายของบริการ
1) โดยอธิบายกระบวนการให้คำปรึกษา – สั้นๆ เข้าใจง่าย
2) อธิบายว่าทุกสิ่งที่พูดกันนี้จะเป็นความลับ
3) เป้าหมายของการปรึกษาครั้งนี้เพื่ออะไร
4) เวลาที่ใช้ในแต่ละครั้งของการปรึกษา
ขั้นระบุปัญหา (2)
2.1 พิจารณาปัญหา
1) ช่วยผู้รับบริการได้สำรวจปัญหาของเขาโดยการอภิปราย และช่วยกันพิจารณาข้อมูลที่มีอยู่
2) สัมพันธภาพที่ดีจะช่วยให้ผู้รับบริการพร้อมที่จะเปิดเผย
2.2 แยกแยะองค์ประกอบของปัญหา
1) รายละเอียดของพฤติกรรม
2) ระยะเวลาที่เกิดปัญหา
3) สภาพการณ์ที่เป็นปัญหา
2.3 สรุปประเด็นปัญหาที่แท้จริง
จากการสังเกตและตั้งใจฟัง ผู้ให้บริการจะได้รู้ถึงปัญหาที่แท้จริง – ทั้งเนื้อหาและความรู้สึก
ขั้นระบุวัตถุประสงค์ (3)
1. พิจารณาเป้าหมายที่ปรารถนา – แก้ปัญหา เปลี่ยนพฤติกรรม ตัดสินใจ ป้องกันปัญหา วางโครงการอนาคต หรือพัฒนาตนเอง
2. ระบุเป้าหมายที่ชัดเจน นำไปปฏิบัติได้จริง
3. ผู้รับบริการเห็นพ้องกันในการกำหนดเป้าหมาย
วางแผนแก้ปัญหา หรือวางโครงการ (4)
1. เลือกทฤษฎีและกำหนดขั้นตอน จากข้อมูลของผู้รับบริการและปัญหาที่เขามี
2. ตกลงร่วมกันถึงแผนการ หลักการ วิธีการ ระยะเวลาที่ใช้ ตลอดจนผลที่จะได้รับจากการใช้วิธีการเหล่านั้น
ดำเนินการตามแผนที่วางไว้ (5)
ผู้ให้บริการสนับสนุนผู้รับบริการในการนำเอาแผนที่วางไว้ไปใช้
ประเมินผล (6)
1.ประเมินผลเพื่อรู้ข้อบกพร่องเพื่อนำมาแก้ไข
2.ในการประเมินผล ผู้ให้คำปรึกษาสามารถประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของผู้รับบริการหรือสอบถามจากผู้รับบริการหรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิด
ยุติการให้บริการปรึกษา (7)
1. ผู้ให้บริการและผู้รับบริการต่างเห็นพ้องกันว่าได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้แล้ว
2. ผู้ให้บริการแจ้งล่วงหน้าว่าจะยุติการให้บริการเมื่อใด
3. พฤติกรรมของผู้รับบริการที่แสดงให้เห็นว่าควรยุติการให้บริการ – กระตือรือร้นที่จะนำโครงการไปใช้ต่อไป
4. การยุติการให้บริการปรึกษา อาจจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป
ติดตามผล (8)
1. การติดตามผล เพื่อเป็นการประเมินผลอีกครั้ง
2. เพื่อดูว่าผู้รับบริการต้องการความช่วยเหลืออะไรบ้างหรือไม่
เทคนิคการให้คำปรึกษา (Counseling Techniques)
1. Rapport – การสร้างสัมพันธภาพ
แสดงให้ผู้รับบริการทราบว่า มีความยินดี เต็มใจ ที่จะให้ความช่วยเหลือเขาเป็นการแสดงออกทั้งทางพฤติกรรมและคำพูด

2. Acceptance – การยอมรับ
แสดงให้เห็นว่า ผู้ให้บริการมีความสนใจผู้รับบริการอย่างแท้จริง และเต็มใจให้ความช่วยเหลือต้องฝึกให้เป็นพฤติกรรมอัตโนมัติ และมีการใช้เป็นระยะในการให้บริการปรึกษา ต้อนรับที่อบอุ่น เป็นกันเอง ยิ้มแย้มแจ่มใส แสดงการยอมรับในสิ่งที่ผู้รับบริการพูดโดยไม่ขัดจังหวะการพูด – ผงกศีรษะยอมรับ หรือกล่าวคำว่า “ครับ/ค่ะ” “ใช่” “อืม” เป็นต้น
3. Approval – การให้ความเห็นชอบ
แสดงความเห็นชอบกับการกระทำหรือคำพูดของผู้รับบริการ ไม่ควรใช้บ่อยเกินไป เพราะจะทำให้ผู้ให้บริการมีอิทธิพลเหนือผู้รับบริการ – สุดท้าย ผู้รับบริการก็ไม่สามารถนำตนเองได้
4. Assurance – การให้กำลังใจ สร้างความมั่นใจ
ผู้ให้บริการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ เมื่อคาดว่าเขาสามารถดำเนินการตามโครงการหรือแผนที่วางไว้ได้ – เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความสบายใจ มีกำลังใจ
ข้อควรระวัง: ผู้รับบริการอาจจะผลักความรับผิดชอบมาให้ผู้ให้บริการได้ ดังนั้น จึงควรใช้เมื่อผู้ให้บริการมีเป้าหมายแน่นอน และพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วว่าจะไม่เกิดผลลบ (มีเหตุผล มีข้อมูลที่เพียงพอ)
5. Advising – การแนะ
ผู้ให้บริการนำความรู้และประสบการณ์ของตนมาช่วยผู้รับบริการแก้ปัญหา – เหมือนการสั่งสอนแต่จะใช้คำพูดที่อ่อนโยนกว่า
ข้อควรระวัง – ผู้รับบริการอาจจะรู้สึกว่าตนถูกบังคับ ซึ่งเขาอาจจะไม่อยากมาหาอีกเลย
6. Suggesting – การเสนอแนะ
เสนอแนวทางปฏิบัติในการแก้ปัญหา – แนะหลายแนวทางเพื่อให้ผู้รับบริการเลือกด้วยตนเอง เทคนิคนี้จะยากสำหรับผู้ให้บริการที่ยังไม่ชำนาญ
7. Questioning – การตั้งคำถาม
ผู้ให้บริการตั้งคำถามเพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม ทำให้ทราบถึงภูมิหลังของผู้รับบริการและปัญหา

ทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลางการบำบัดรักษา
ทฤษฎีการให้คำปรึกษาตามแนวเกสตัลท์
ทฤษฎีว่าด้วยเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม
ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (The Behavioral Counseling Approach
ทฤษฎีคุณลักษณะและองค์ประกอบ (Trait and Factor Approach)
ทฤษฎีบำบัดด้วยการเผชิญความจริง (The Reality Approach)
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ของ Sigmund Freud (The Psychoanalytic Approach)
ทฤษฎีจิตวิทยาปัจเจกบุคคล ของ Alfred Adler (Individual Psychology of Alfred Adler)
ทฤษฎีการรู้สึกสำนึกภาวะชีวิต (Existentialism)
ทฤษฎีการวิเคราะห์การติดต่อสัมพันธ์ (Transactional Analysis – TA)

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ29 มีนาคม 2553 เวลา 06:35

    อืม น่าสนใจมากครับผม ถ้าเอารายละเอียดมาทั้งหมดจะเยี่ยมมากเลยครับ

    ตอบลบ